เมนู

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ



1. ทุคตสูตร 2. สุขิตสูตร 3. ติงสมัตตาสูตร
4. มาตุสูตร 5. ปิตุสูตร 6. ภาตุสูตร
7. ภคินีสูตร 8. ปุตตสูตร 9. ธีตุสูตร
10. เวปุลลปัพพตสูตร
จบอนมตัคคสังยุตที่ 3

อรรถกถาเวปุลลปัพพตสูตรที่ 10



พึงทราบวินิจฉัยในเวปุลปัพพตสูตรที่ 10 ดังต่อไปนี้.
บทว่า ภูตปุพฺพํ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนำเรื่องราวเรื่อง
หนึ่งในอดีตกาลมาแสดง. บทว่า สมญฺญา อุทปาทิ ได้แก่ บัญญัติ. บทว่า
จตุเหน อาโรหนฺติ นี้ ท่านกล่าวหมายถึงคนมีกำลังปานกลาง. บทว่า
อคฺคํ คือสูงสุด. บทว่า ภทฺทยุคํ คือคู่ที่ดี. บทว่า ตีเหน อาโรหนฺติ
ความว่า ได้ยินว่า แผ่นดินหนาขึ้น 1 โยชน์ ระหว่างพระพุทธเจ้าทั้งสอง
ด้วยคำมีประมาณเท่านี้. ภูเขานั้นสูง 3 โยชน์. บทว่า อปฺปํ วา ภิยฺโย
ความว่า ผู้อยู่เกินกว่า 100 ปี น้อยกว่า 10 ปีบ้าง. ผู้ที่ชื่อว่าอยู่ตลอด
100 ปี ไม่มีอีก. แต่โดยสูงสุด สัตว์มีชีวิตอยู่ได้ 60 ปีบ้าง 80 ปีบ้าง
ส่วนสัตว์ยังไม่ถึง 100 ปี ตายไปในเวลา 5 ปี หรือ 10 ปีเป็นต้นก็มี
มาก. คำนี้ว่า ก็พระผู้มีพระภาคเจ้ากกุสันธะ บังเกิดในเวลามีอายุ
4 หมื่นปี พระผู้มีพระภาคเจ้าโกนาคมนะ บังเกิดในเวลามีอายุ 3
หมื่นปี ดังนี้ ท่านจัดให้เป็นความเสื่อมโดยลำดับ. แต่ไม่พึงทราบว่า

อายุเสื่อมอย่างนี้ เจริญแล้ว ๆ ก็เสื่อม. ถามว่า อย่างไร. ตอบว่า
ครั้งแรก พระผู้มีพระภาคเจ้ากกุสันธะ บังเกิดในเวลามีอายุ 4 หมื่นปี
ในกัปนี้แบ่งประมาณอายุออกเป็น 5 ส่วน ดำรงอยู่ 4 ส่วน ปรินิพพาน
แล้วในเมื่อส่วนที่ 5 ยังมีอยู่. อายุนั้นเสื่อมลงถึง 10 ปี กลับเจริญขึ้นอีก
จนถึงอสงไขยปี แล้วกลับเสื่อม ดำรงอยู่ในเวลามีอายุ . หมื่นปี.
พระโกนาคมนะบังเกิดแล้วในกาลนั้น. แม้พระองค์ก็ปรินิพพานอย่างนั้น
แล อายุนั้นเสื่อมลงถึง 10 ปี กลับเจริญขึ้นอีกจนถึงอสงไขยปี แล้วก็เสื่อม
ดำรงอยู่ในเวลามีอายุ 2 หมื่นปี. พระผู้มีพระภาคเจ้ากัสสปะบังเกิดใน
กาลนั้น. แม้พระองค์ปรินิพพานแล้วอย่างนั้นแล อายุนั้นเสื่อมลงถึง 10 ปี
กลับเจริญขึ้นอีกจนถึงอสงไขยปี แล้วเสื่อมลงไปถึง 100 ปี. ครั้งนั้น
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราทรงอุบัติ. พึงทราบว่าอายุเสื่อมแล้วกลับเจริญ
เจริญแล้วก็เสื่อม. พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงอุบัติในมนุษย์ มีประมาณอายุ
อันใดในกัปนั้น อันนั้นแล เป็นประมาณอายุแม้ของพระพุทธเจ้าเหล่านั้น.
จบอรรถกถาเวปุลลปัพพตสูตรที่ 10
จบทุติยวรรคที่ 2
จบอรรถกถาอนมตัคคสังยุต

4. กัสสปสังยุต



1. สันตุฏฐสูตร



ว่าด้วยเรื่องสันโดษ



[462] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า
ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย. . . แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
กัสสปนี้เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้ และเป็นผู้กล่าวสรรเสริญคุณ
แห่งความสันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้ ไม่ถึงการแสวงหาอันไม่ควรเพราะ
เหตุแห่งจีวร ไม่ได้จีวรก็ไม่สะดุ้ง ครั้นได้จีวรแล้วก็ไม่ยินดี ไม่ติดใจ
ไม่พัวพัน มีปกติเห็นโทษ มีปัญญาเครื่องสลัดออก ย่อมใช้สอย ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย กัสสปนี้เป็นผู้สันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้ และเป็น
ผู้กล่าวสรรเสริญคุณแห่งความสันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้ ไม่ถึง
การแสวงหาอันไม่สมควร เพราะเหตุแห่งบิณฑบาต ไม่ได้บิณฑบาตก็ไม่
สะดุ้ง ครั้นได้บิณฑบาตแล้วก็ไม่ยินดี ไม่ติดใจ ไม่พัวพัน มีปกติ
เห็นโทษ มีปัญญาเครื่องสลัดออก ย่อมบริโภค ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
กัสสปนี้เป็นผู้สันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้ และเป็นผู้กล่าวสรรเสริญ
คุณแห่งความสันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้ ไม่ถึงการแสวงหาอันไม่
สมควรเพราะเหตุแห่งเสนาสนะ ไม่ได้เสนาสนะก็ไม่สะดุ้ง ครั้นได้
เสนาสนะแล้วก็ไม่ยินดี ไม่ติดใจ ไม่พัวพัน มีปกติเห็นโทษ มีปัญญา